แนวคิด

                       โครงการวิทยานิพนธ์ครั้งนีมีวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม เพื่อปรับภูมิทัศน์ของสวนสาธารณะ “พรรณภิรมย์” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณใต้ทางด่วนถนนพระราม 9 กรุงเทพฯ เป็นสวนที่อนุรักษ์พันธุ์ไม้มงคลหายากไม่ให้สูญพันธุ์ ทั้ง 76 จังหวัด เป็นที่ออกกำลังกาย และเป็นปอดของชาวกรุงเทพฯ ให้สวยงามในมิติและมุมมองที่ก่อให้เกิดความประทับใจ และคติ เตือนใจในธรรมชาติของการปรับตัวของพันธุ์ไม้และความเป็นตัวตนของมนุษย์เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์โด้รับแรงบันดาลใจจากการได้เห็นพันธุ์พืชที่งอกอยู่ตามซอกกำแพงหรือซอกตึก แมกไม้ที่ถูกจัดสร้างไว้ในสวนสาธารณะที่ล้อมรอบไปด้วยตึกระฟ้าในเมืองใหญ่ ๆ และจากประสบการณ์ที่ ข้าพเจ้าได้มีโอกาสศึกษาธรรมะของท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ พระสงฆ์ที่องค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก “เรื่องพฤกษาแห่งชีวิต” เป็นหนังสือที่องค์การยูเนสโกคับองค์กรชาวพุทธทั่วโลก ซึ่งรัฐบาลไทยจัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวาระครบชาตกาล 100ปี ของท่านพุทธทาส สาระความว่าชีวิตมนุษย์เปรียบเสมือนต้นไม้ เจริญเติบโตอย่างมีระบบ และต้องการธรรมะ แต่ปัจจุบันนี้ต้นไม้แห่งชีวิตในระบบจิต (จิตตพฤกษา) มีความผิดพลาดทางระบบจิตอยู่มากสืบเนื่องจากมิติทางสังคม โดยศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) การสร้างสรรค์ ผลงานที่ใช้ไม้เป็นวัสดุในการสร้างสรรค์ประติมากรรม 2) การสร้างสรรค์ผลงานที่ใช้การหล่อโลหะ 3) การสร้างสรรค์ผลงานที่ใช้การเชื่อมโลหะ ทั้งนี้เพราะโลหะมีความคงทน

ภาพผลงาน

ชื่อภาพ : การปรับตัวเพื่อการอยู่ 1

เทคนิค : ไฟเบอร์กลาส

ขนาด : 25 x 25 x 65 ซม.

ชื่อภาพ : การปรับตัวเพื่อการอยู่ 2

เทคนิค : ไฟเบอร์กลาส

ขนาด : 60 x 80 x 80 ซม.

ชื่อภาพ : การปรับตัวเพื่อการอยู่ 3

เทคนิค : ไฟเบอร์กลาส

ขนาด : 120 x 120 x 300 ซม.